ห้องภาวนามูลนิธิฯ

อ่อนนุช กรุงเทพฯ

โพธิธรรมญาณสถาน

อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

แสงธรรมโพธิญาณ

อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

โพธิธรรมญาณสถาน

จ.ภูเก็ต

ความดีงาม ความถูกต้อง และความเหมาะสม

จะเชื่อ จะศรัทธาใครก็ไม่ว่า

แต่ระวังอย่าให้เป็นศรัทธาที่มืดบอด ขาดการไตร่ตรอง เพราะจะมีบาปติดตัว

ธรรมะ คือหลักธรรมชาติ

ธรรมะ ในเชิงคำสอนนั้น ประกอบไปด้วยหลักให้พิจารณาสามประการคือ

***ความดีงาม ความถูกต้อง และความเหมาะสม***

หากข้อใดข้อหนึ่งขาดไป ก็จะกลายเป็นความเพี้ยนได้

คิดว่าดี แต่ไม่ถูกต้องก็ไม่ได้

พูดแต่หลักธรรมคำสอนให้คนทำดี แต่การสอนไม่คำนึงถึงความเหมาะสม ก็ไม่ได้ พระธรรมวินัยจึงมีหลักของอาวุโส หากเป็นพระภิกษุก็เคารพกันด้วยพรรษา เป็นฆราวาสหรือคนธรรมดาก็มีลำดับการเคารพด้วยหลัก วัยวุฒิ คืออายุ ชาติวุฒิคือชาติกำเนิด คุณวุฒิคือการเคารพด้วยคุณธรรม (อยู่ในธรรมข้อบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ)

เมื่อคุณวุฒิหรือคุณธรรมพิสูจน์ไม่ได้

ก็ต้องยึดหลักวัยวุฒิและชาติวุฒิ เป็นสำคัญ

ชาวพุทธย่อมรู้ว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทุกข์และวิธีการดับทุกข์

ทรงสอนเรื่องการปล่อยวาง ในหลักธรรมสัปปุริสธรรม 7 อันเป็นธรรมของคนดี ประกอบด้วย รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาล รู้จักสังคม รู้จักบุคคล เมื่อไม่รู้จักบุคคลหรือไม่รู้จักกาลเทศะอันควร ก็นำไปสู่การแสดงออกที่ผิดเพี้ยนต่อสังคม นำไปสู่การติเตียนของสาธารณชน

พูดธรรมถูกแต่วิธีการผิด ทั้งผู้พูดและผู้สนับสนุนก็ต้องมีบาปติดตัว

โทษฐานทำให้พระศาสนามัวหมอง ที่ทำให้คนเห็นว่าพุทธบริษัทไม่มีปัญญา กระทำการอันมืดบอด ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้คนเสื่อมศรัทธา เพราะคนในพระศาสนา กระทำการเยี่ยงนี้

บาปตรงนี้แหละ

อ.อัจฉราวดี วงศ์สกล
25 เมษายน 2567